Like กันนะ

มาทำความรู้จักกับ “อีโบล่า” กัน

อ่านข่าวอยู่ทุกวันก็เป็นห่วงสำหรับคนที่ออกเดินทางบ่อย เจอคนต่างชาติเยอะ ยิ่งได้ข่าวมาว่าเจ้าเชื้ออีโบล่าเข้ามาใกล้ประเทศไทยมากขึ้นทุกที ก็เริ่มแอบกลัวเล็กๆละ เลยคิดว่าเรามาทำความรู้จักกับเจ้าอีโบล่ากันหน่อยดีกว่า จะได้รู้วิธีในการป้องกันตัวเองจากโรคนี้ด้วย

ebola002

อีโบล่า อยู่ในกลุ่มโรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบล่า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดประมาณ 80 นาโนเมตร ยาว 790-970 นาโนเมตร ป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สุดโรคหนึ่งในโลก ได้ชื่อมาจากพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอีโบล่า ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทวีปแอฟริกา (ชื่อประเทศเดิมคือ ซาอีร์) ซึ่งเป็นที่พบผู้ติดเชื้อครั้งแรกเมื่อปี 2519

เชื้อไวรัสอีโบล่านั้นมีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ด้วยกันดังนี้

  • สายพันธุ์ย่อย Bundibugyo ebolavirus (BDBV)
  • สายพันธุ์ย่อย Zaire ebolavirus (EBOV)
  • สายพันธุ์ย่อย Sudan ebolavirus (SUDV)
  • สายพันธุ์ย่อย Reston ebolavirus (RESTV)
  • สายพันธุ์ย่อย Tai Forest ebolavirus (TAFV)

สายพันธุ์ในข้อ 1 – 3 เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงที่ก่อการระบาดในแอฟริกา ส่วนอีก 2 สายพันธุ์ที่เหลือยังไม่พบว่าก่อให้เกิดการระบาด

ขอบคุณข้อมูลจาก whatphone.tv

ebola-virus[4]
ขอบคุณรูปประกอบจาก solarisastrology.blogspot.com

อาการโรคและการติดโรค

อาการของโรคมีความผันแปรและมักเกิดฉับพลัน อาการแรกเริ่มได้แก่การมีไข้สูง (อย่างต่ำ 38.8°C หรือ 102°F) ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ข้อและช่องท้องรุนแรง อ่อนเพลียอย่างหนักและวิงเวียนศีรษะ ในช่วงแรกๆ ที่เกิดการระบาดและยังไม่เป็นที่รู้จักมากมักวินิจฉัยว่าเป็นไข้มาลาเรีย ไข้ไทฟอยด์ ท้องร่วง ไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งโรคอื่นๆ ที่เกิดจากแบคทีเรียซึ่งมีอาการคล้ายกันแต่ไม่รุนแรงถึงชีวิต

อาการอาจร้ายแรงขึ้น เช่นท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระกลายเป็นสีดำหรือแดงจัด อาเจียนเป็นโลหิต ตาแดงจัด ความดันโลหิตลดต่ำกว่า 90/60 ไต ม้ามและตับได้รับความเสียหาย อัตราการตายสูงมากถึงระหว่าง 50% - 90% สาเหตุที่ตายเกิดจากขาดเลือด หรืออวัยวะวาย

เชื้อไวรัสอีโบล่าสามารถติดต่อ 2 ทาง คือ จากสัตว์ (เช่น ลิง หรือ ค้างคาวผลไม้) และจากคน ทั้งนี้การจะติดต่อกันได้นั้น จะต้องมีการสัมผัสคัดหลั่ง

ข่าวร้ายคือในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับโรคไวรัสอีโบล่า มีแต่เพียงการรักษาประคับประคอง (supportive treatment) ได้แก่ทำหัตถการแบบรุกล้ำให้น้อยที่สุด รักษาสมดุลอิเล็กโตรไลต์และสารน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ให้สารต้านการแข็งตัวของเลือดในระยะแรกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (DIC) ให้สารช่วยการแข็งตัวของเลือดในระยะท้ายเพื่อควบคุมไม่ให้มีเลือดออก รักษาระดับออกซิเจน บรรเทาอาการปวด และใช้ยาต้านเชื่อแบคทีเรียหรือยาต้านเชื้อราเพื่อรักษาการติดเชื้อซำซ้อน (ถ้ามี)

แต่ถึงแม้ว่าจะยังรักษาไม่ได้ แต่เราสามารถป้องกันได้ในระดับหนึ่ง นั่นคือการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย ล้างมือเป็นประจำ และคอยติดตามข่าวอย่างมีสติ

ช่วยเจ้าของเว็บโดยการกดไลค์หน่อยนะครับ ขอบคุณครับ

Comments